Search

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

1. วิสัยทัศน์

พื้นฐานพัฒนา  การศึกษาดี  มีรายได้  ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

2. ยุทธศาสตร์

  1. ด้านโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการน้ำ
  2. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของชุมชน
  3. ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การแก้ไขปัญหายาเสพติด
  4. ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  5. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ  รายได้ การพัฒนาการเกษตร
  6. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

3. เป้าประสงค์

  1. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน บริการสาธารณะ ให้ได้มาตรฐาน พัฒนาแหล่งน้ำการเกษตร ให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการ
  2. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ได้รับการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต เข้าถึงผลประโยชน์สวัสดิการจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ห่างไกลจากยาเสพติดนำค่านิยมหลักมาประยุกต์ใช้
  3. ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดี ได้รับบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคและสุขอนามัย  ฟื้นฟูระบบนิเวศน์เพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติ  จัดการปัญหาขยะมูลฝอย
  4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  5. พัฒนาเศรษฐกิจของประชาชน ให้มีรายได้ ลดรายจ่าย ส่งเสริมการค้า อาชีพ นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต  ส่งเสริมการท่องเที่ยว
  6. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในทางการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคงของชาติ ประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นประชาธิปไตย รักษาผลประโยชน์ของชาติสร้างความเป็นธรรมในสังคม

4. ตัวชี้วัด

  1. ด้านโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการน้ำ
    1. จำนวนถนนภายในตำบลที่ได้รับมาตรฐานเพิ่มขึ้น
    2. ประชาชนภายในตำบลมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนและมีไฟฟ้าสาธารณะ
    3. ระบบประปาหมู่บ้านครอบคลุมทุกพื้นที่และมีคุณภาพ
    4. ประชาชนไม่มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำท่วมขังในฤดูฝน
    5. มีอาคารเพื่อการดำเนินกิจกรรมทางสาธารณะที่เพียงพอทั้งที่ทำการและหมู่บ้าน
    6. ประชาชนไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภค  บริโภค
  2. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของชุมชน
    1. ประชาชนมีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน
    2. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี รักษาขนบธรรมเนียมท้องถิ่น
    3. ประชาชนได้รับสวัสดิการจากรัฐตามสิทธิ์ 100 %
    4. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    5. ประชาชนใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต
  3. ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การแก้ไขปัญหายาเสพติด
    1. ประชาชนเข้าถึงการบริการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
    2. ประชาชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม ให้น่าอยู่
    3. ประชาชนรู้จักวิธีกำจัดขยะ สิ่งปฏิกูล อย่างถูกวิธี
    4. ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรค
  4.  ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
    1. จำนวนพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น ปัญหาขยะลดลง
  5. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ รายได้ การพัฒนาการเกษตร
    1. ประชาชนมีรายได้และอาชีพ ร้อยละ 100
    2. มีสถานที่ส่งเสริมตลาดสินค้า
    3. ประชาชนมีความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  6. ด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
    1. ร้อยละของประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมท้องถิ่น
    2. จำนวนประชาชนและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
    3. จำนวนการจัดอบรม การส่งบุคลากรเข้าอบรม และศึกษาดูงาน
    4. สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในองค์การทุกปี
    5. จำนวนการบูรณาการการพัฒนากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    6. จำนวนประชาชนที่ได้รับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม

5. ค่าเป้าหมาย

  1. ประชาชนได้รับบริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีน้ำในการอุปโภค บริโภค
  2. ประชาชนได้รับสวัสดิการทั่วถึง มีโอกาสทางการศึกษา มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  3. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันทำสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่
  4. ป้องกันการบุกรุกป่า รณรงค์ปลูกป่าปลูกจิตสำนึกให้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลดปริมาณขยะ
  5. ประชาชนมีอาชีพและรายได้ที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิต ปรับปรุงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
  6. สร้างโอกาสให้เข้าถึงการบริหารจัดการ ภาครัฐแบบประชาชนมีส่วนร่วม ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน  สร้างความพึงพอใจต่อประชาชน

 6. กลยุทธ์

ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์
1.ด้านโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการน้ำ 1. ก่อสร้าง ปรับปรุงและซ่อมแซมถนน
2. ขยายและซ่อมแซมไฟฟ้า/ไฟฟ้าสาธารณะ/ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
3. ก่อสร้าง ปรับปรุงและซ่อมแซมระบบประปา
4. ก่อสร้างและซ่อมแซมทางระบายน้ำ
5. ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมและพัฒนาสิ่งก่อสร้าง
6. ก่อสร้างและปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค
7. ก่อสร้างและปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
2.ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของชุมชน

2.ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของชุมชน

1. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา กีฬา และนันทนาการ
2. อนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น
3. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ด้วยโอกาสและคนต่างชาติ
4. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
6. การแก้ไขปัญหาในด้านอาชญากรรม การละเมิดสิทธิเด็กและสตรี
7. ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
8. ส่งเสริมโครงการ/กิจกรรมด้านการพัฒนาสตรีและครอบครัว
9. ยกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้สังคมมีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
10.การส่งเสริมให้ประชาชนมีค่านิยม 12 ประการ
3.ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การแก้ไขปัญหายาเสพติด
 
1. สนับสนุน ส่งเสริม รักษา ฟื้นฟู ป้องกัน ควบคุมโรคของประชาชน
2. สนับสนุน ส่งเสริมกิจกรรมด้านสาธารณสุข
3. การป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุข
4. การจัดการระบบการจัดเก็บขยะมูลฝอย การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย
5.การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา
4.ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 1. การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์
2. การป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะและมลภาวะเป็นพิษ
3. การบริหารจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควัน
4.การส่งเสริมสนับสนุนพลังงานทดแทน
5. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม
5.ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ  รายได้ การพัฒนาการเกษตร 1. การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
2. การสร้างงาน สร้างรายได้ ลดรายจ่าย
3. ส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยฤดูแล้ง
4. การส่งเสริม สนับสนุน กลุ่มอาชีพเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
5.ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า และจัดให้มีสถานที่จำหน่ายสินค้า
6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการที่สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยว
7. การส่งเสริม พัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมและยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้า
8. การปรับปรุงและการเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง
6. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 1. การส่งเสริม สนับสนุน การขับเคลื่อนแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ
2. การพัฒนาระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. การสนับสนุนการสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ของคนในสังคม
4. การสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
5. การจัดกิจกรรมและโครงการเฉลิมพระเกียรติ
6. การเพิ่มช่องทางรับรู้ข่าวสารและการมีส่วนร่วมของประชาชน
7. การวางผังและปรับปรุงผังเมืองรวมและการวางผังชุมชน
8. การสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน
9. การดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล
10. การแก้ไขปัญหาการทุจริต
11. การสนับสนุนและจัดให้มีการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
12. การสนับสนุนการจัดทำบัญชีด้วยระบบคอมพิวเตอร์
13.การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานการคลัง
14. การพัฒนาองค์กรและพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

7. จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) 

จากประเด็นความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12  ยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์จังหวัด จะเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนในการนำมาเป็นแนวทางกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจนจะเป็นการเตรียมการพัฒนา  เป็นการนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของชุมชนให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน สังคมเศรษฐกิจภายในชุมชนให้มีคุณภาพ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในชุมชนอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  องค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง จึงได้กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) คือ

“ เป็นศูนย์กลางการพัฒนา การศึกษา การลงทุน เกษตรกรรม เมืองน่าอยู่ คู่ธรรมมาภิบาล ”

Scroll to Top